การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในวัดป่า กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในวัดป่า กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการวิจัย:
การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในวัดป่า กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
ผู้วิจัย:
รศ. ดร.สุระ พัฒนเกียรติ (หัวหน้าโครงการ)
ผศ. ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย (ผู้ร่วมวิจัย)
อุทัยวรรณ ผิวพรรณ (ผู้ร่วมวิจัย)
การศึกษาวิจัยนี้ ได้ทำการสำรวจพื้นที่สีเขียวในวัดป่า โดยทำการวางแปลงชั่วคราว เพื่อศึกษาสังคมพืชในพื้นที่วัดป่า ขนาด 20×50 เมตร จำนวน 14 แปลง (13 วัด) สามารถจำแนกสังคมพืช ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง โดยแสดงรายชื่อวัด พรรณไม้เด่น และดัชนีความหลากหลายของ Shannon – Wiener ดังตารางที่ 1
นอกจากนั้น ทำการประเมินสถานภาพของพืชที่อยู่ในพื้นที่สีเขียวของวัดป่า โดยใช้หลักเกณฑ์ของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN พบว่ามีพรรณไม้ที่อยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN Red List จำนวน 30 ชนิด จากพรรณไม้ทั้งหมด 171 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae และ Fabaceae สามารถแบ่งออกได้ตามระดับความเสี่ยง คือ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered; CR) ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered; EN) มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable; VU) ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened; NT) และ มีความเสี่ยงน้อย (Least Concerned; LC) โดยตารางที่ 2 แสดงสถานภาพของพันธุ์พืชในระดับ CR ถึง VU
การติดต่อ:
รศ. ดร.สุระ พัฒนเกียรติ
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
0 2441 5000 ต่อ 1221 หรือ 3344
sura.pat@mahidol.ac.th