ผลงานวิจัยเด่น

ผลของการเล่านิทาน 101s ที่มีต่อพัฒนาการทักษะทางอารมณ์ – สังคม และการคิดเชิงบริหาร ในห้องเรียนปฐมวัย

เด็ก ๆ ยกมือตอบวิธีการใช้เทคนิค 101s การสร้างวินัยเชิงบวกในการแก้ไขปัญหา

ผลของการเล่านิทาน 101s ที่มีต่อพัฒนาการทักษะทางอารมณ์ – สังคม และการคิดเชิงบริหาร ในห้องเรียนปฐมวัย

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

ผลของการเล่านิทาน 101s ที่มีต่อพัฒนาการทักษะทางอารมณ์ – สังคม และการคิดเชิงบริหาร ในห้องเรียนปฐมวัย

ผู้วิจัย :

ปิยนาถ เต็มคำขวัญ
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล
นุชนาฏ รักษี
ปนัดดา ธนเศรษฐกร

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเล่านิทาน 101s ที่มีต่อพัฒนาการทักษะทางอารมณ์ – สังคม และการคิดเชิงบริหารในห้องเรียนปฐมวัย และวิธีการมีปฏิสัมพันธ์ของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนปฐมวัย อายุ 5 ปี จำนวน 61 คน จากโรงเรียนอนุบสล 3 แห่ง โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง (นักเรียน N = 29 คน, ครู N = 2 คน) และกลุ่มควบคุม (นักเรียน N = 31 คน, ครู N = 2 คน) ก่อนและหลังทำการทดลอง ครูในกลุ่มตัวอย่างผู้ทำการประเมินทักษะทางอารมณ์ – สังคม โดยแบบประเมิน 101s ทักษะทางอารมณ์ – สังคม และประเมินการคิดเชิงบริหารของนักเรียนปฐมวัย โดยแบบประเมินทักษะการคิดเชิงบริหารของมหาวิทยาลัยมหิดล (MU.EF-101) ซึ่งทำการวิเคราะห์ผลทางสถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวแปรร่วมแบบพหุคูณ (MANCOVA) และการทดสอบความแตกต่างของค่ากลางภายในกลุ่ม (Paired t – test) และผู้วิจัยเป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลความรู้ความเข้าใจของครู เกี่ยวกับหลักการ 101s การสร้างวินัยเชิงบวก (101s) โดยแบบสอบถามสำหรับครู และเก็บข้อมูลวิธีการมีปฏิสัมพันธ์ของครู โดยแบบประเมิน 101s Teacher Interaction Checklist (TIC) ซึ่งทำการวิเคราะห์ผลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า การเล่านิทาน 101s ส่งผลเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ต่อทักษะทางอารมณ์ – สังคม และการคิดเชิงบริหารของเด็กปฐมวัย และส่งผลเชิงบวกต่อวิธีการมีปฏิสัมพันธ์ของครู

เด็ก ๆ ช่วยกันตั้งกฎตามหนังสือนิทาน 101s เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก
หนังสือนิทาน 101s เทคนิคการสร้างวินัยเชิงบวก 7 เล่ม
เด็ก ๆ ยกมือตอบวิธีการใช้เทคนิค 101s การสร้างวินัยเชิงบวกในการแก้ไขปัญหา

การเผยแพร่ผลงาน : The 101s Storybooks Intervention Program to Promote Executive Function Development in Preschool: The Case Study in Thailand, INTED2017 Proceedings, pp. 4179 – 4187.

การติดต่อ :
ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะสมองการรู้คิดเชิงบริหาร ผ่านกิจกรรมบูรณาการประสาทสัมผัสในเด็กปฐมวัย
October 24, 2019
ผลของการเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวกต่อทักษะการคิดเชิงบริหารและทักษะด้านอารมณ์ สังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
October 24, 2019