การศึกษาการแช่ขาระดับเข่าในน้ำเย็น 5 นาที ขณะพักครึ่งการแข่งขันฟุตบอล ที่มีต่อความสามารถในการพักฟื้นร่างกายของนักฟุตบอล ในสภาพอากาศร้อน
August 14, 2018
การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมทักษะสมองการรู้คิดเชิงบริหาร ผ่านกิจกรรมบูรณาการประสาทสัมผัสในเด็กปฐมวัย
August 15, 2018

ผลของโปรแกรมการฝึกเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ในการวัดอัตราความสมดุลของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าเทียบกับต้นขาด้านหลัง การทรงตัว ในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย ระดับมัธยมปลาย

ผลของโปรแกรมการฝึกเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ในการวัดอัตราความสมดุลของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าเทียบกับต้นขาด้านหลัง การทรงตัว ในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย ระดับมัธยมปลาย

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

ผลของโปรแกรมการฝึกเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ ในการวัดอัตราความสมดุลของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าเทียบกับต้นขาด้านหลัง การทรงตัว ในนักกีฬาบาสเกตบอลชาย ระดับมัธยมปลาย

ผู้วิจัย :

เดชา ดาทอง
คัดนานต์ สรุงบุญมี
วารี วิดจายา
กรกฏ พานิช

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกด้วยโปรแกรม SIPTP 3 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยตัวแปรที่วัดประกอบด้วย ความอ่อนตัว, อัตราความสมดุลของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าเทียบกับด้านหลัง, การทรงตัว และกำลังกล้ามเนื้อ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการบาดเจ็บของระยางค์ส่วนล่าง โดยอาสาสมัครผู้รับการวิจัยเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลชาย จำนวน 26 ราย ช่วงอายุระหว่าง 13 – 18 ปี โดยแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลอง จะได้รับการฝึก 6 ส่วนของโปรแกรม SIPTP เป็นเวลา 20 นาที ในขณะที่กลุ่มควบคุม เป็นการอบอุ่นร่างกายแบบทั่วไป ทั้งสองกลุ่มจะถูกวัดค่าความอ่อนตัว, ความสมดุลของกำลังกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าเทียบกับด้านหลัง, ค่าการทรงตัว และค่าการกระโดดสูง ก่อนและหลังการฝึก 6 สัปดาห์ การวิเคราะห์ทางสถิติใช้ Two Way Repeated ANOVA ในการวิจัยพบว่าค่าการทรงตัว และค่าความอ่อนตัว ในกลุ่มที่ได้รับการฝึก มีค่าที่เพิ่มขึ้นแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้นกลุ่มที่ได้รับการฝึกยังพบว่าค่าการทรงตัว ค่าการกระโดดสูง และอัตราความสมดุลของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าเทียบกับด้านหลัง เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลังได้รับการฝึกด้วยโปรแกรม SIPTP เป็นเวลา 6 สัปดาห์ จากการศึกษาสรุปได้ว่า การฝึกด้วยโปรแกรม SIPTP เป็นเวลา 6 สัปดาห์ สามารถเพิ่มค่าอัตราสมดุลของกล้ามเนื้อต้นขาด้านหน้าเทียบกับด้านหลัง, ค่าการทรงตัว, ค่าการกระโดดสูง เป็นผลให้ช่วยลดการบาดเจ็บของระยางค์ส่วนล่างของนักกีฬาบาสเกตบอล ระดับมัธยมปลาย

การเผยแพร่ผลงาน : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา 2561; 18 (1): 49 – 57

การติดต่อ :
อ.นพ.กรกฎ พานิช
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
korakod.panich@gmail.com