โครงการ Green office คืออะไร


  • green office หรือ สำนักงานสีเขียว คือ สำนักงานและกิจกรรมต่างๆ ภายในสำนักงานที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
  • ใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างรู้คุณค่า
  • มีแนวทางในการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
  • รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • ที่สำคัญจะต้องลดปริมาณปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อม

การดำเนินการ


  • โครงการที่จัดขึ้นโดย กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
  • มีหลักสำคัญ คือ เปลี่ยนพฤติกรรมในสำนักงาน เพื่อลดการใช้พลังงาน และริเริ่มกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • มีเกณฑ์ให้องค์กรอื่นๆ ที่มีความสนใจ ดำเนินการตามเกณฑ์ดังกล่าว มีการทดสอบเกณฑ์และประเมินผล เพื่อรับรองสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

Green office ในอาคารสำนักงานอธิการบดี

            สนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2563 – 2566 ในยุทธศาสตร์ ที่ 4 Management for Self-Sufficiency and Sustainable Organization เพื่อให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยเชิงนิเวศน์ (Eco University) และมีกลยุทธ์ (Strategic initiatives) ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ ทรัพยากรและระบบสาธารณูปโภคที่ลด carbon footprint และส่งเสริมความปลอดภัยด้านชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม

2.1 การเข้าร่วมโครงการ
อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมโครงการ green office และได้รับการรับรองเป็นสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้

ครั้ง 1 ปี พ.ศ. 2557 ระดับดีมาก (G เงิน) คะแนนรวมร้อยละ 80-89
ครั้ง 2 ปี พ.ศ. 2558 ระดับดีเยี่ยม (G ทอง) คะแนนรวมร้อยละ 90 ขึ้นไป
ครั้ง 3 ปี พ.ศ. 2561 ระดับดีเยี่ยม (G ทอง) คะแนนรวมร้อยละ 90 ขึ้นไป
ครั้ง 4 ปี พ.ศ. 2564 ระดับดีเยี่ยม (G ทอง) คะแนนรวมร้อยละ 90 ขึ้นไป

2.2 การดำเนินการ
การกำหนดนโยบาย การวางแผน การดำเนินงานและการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มีนโยบายและการวางแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม เป้าหมายและตัวชี้วัดการลดการใช้พลังงานและการแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงรวบรวมกฏหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตาม ดังนี้

มีนโยบายและการวางแผนด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดนโยบายสิ่งแวดล้อม เป้าหมายและตัวชี้วัดการลดการใช้พลังงานและการแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงรวบรวมกฏหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตาม ดังนี้

ประกาศและคำสั่ง
ประกาศสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง นโยบายการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนของอาคารสำนักงานอธิการบดี 2564

ประกาศสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง นโยบายลดการใช้พลังงานและลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2564

คำสั่งมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ 806/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (green office)

คำสั่งคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office) ที่ 1/2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) อาคารสำนักงานอธิการบดี

กฎหมายและข้อกำหนดเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม
ข้อกฎหมาย Green Office

พระราชบัญญัติส่งเสริมและอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (1)

กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติ จำนวน และหน้าที่ผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน พ.ศ.2552

กฎกระทรวงกำหนดประเภทหรือขนาดของอาคารและมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ.2552

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535

พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

พระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550

พระราชบัญญัติป้องกันและระงับอัคคีภัย

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ. 2555

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริการ จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562

จัดทำแผนการปรับปรุงโครงการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมและส่งผลกระทบกับชีวอนามัยและความปลอดภัยในการทำงาน ของบุคลากร นักศึกษาและผู้มาติดต่อราชการ โดยจัดทำแผนการปรับปรุงโครงการต่าง ๆ  ล่วงหน้าอย่างน้อย  2  ปี เช่น โครงการปรับปรุงพื้นที่ โดยคำนึงถึงการลดและประหยัดการใช้พลังงาน

– โครงการปรับปรุงสระน้ำหลังอาคารสำนักงานอธิการบดี เป็นพื้นที่สีเขียว ; เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว 20%

– โครงการปรับปรุงห้องบรรยายศ.นพ.ชัชวาล โอสถานนท์ และ ห้องบรรยายศ.นพ.กษาน จาติกวานิช ; เพื่อลดการใช้กระดาษ 100% ลดการใช้ไฟฟ้า 1.5% ลดเสียงรบกวน 100%

– การปรับปรุงห้องประชุม 530 ; เพื่อลดการใช้กระดาษ 100% ลดการใช้ไฟฟ้า 0.5% ลดเสียงรบกวน 100%

– การปรับปรุงเครื่องปรับอากาศเป็นระบบ VRV หรือ VRF ; เพื่อลดการใช้ไฟฟ้า 5%

การตรวจประเมินภายในและการทบทวนฝ่ายบริหาร

มีการแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจประเมิน ตามคำสั่งคณะกรรมการบริหารจัดการสำนักงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และจัดประชุมคณะกรรมการตรวจประเมิน รวมถึงการจัดประชุมทบทวนการดำเนินโครงการสำนักงานสีเขียว

รายงานการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการส่งเสริมสำนักงานสีเขียว (Green Office)

รายงานการประชุมคณะทำงานจัดทำโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office)

รายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจประเมินภายในโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ครั้งที่ 1

รายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจประเมินภายในโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office) ครั้งที่ 2

การอบรมให้ความรู้และความเข้าใจ

1. จัดการอบรมตามแผนการดำเนินการโครงการสำนักงานสีเขียว โดยจัดฝึกอบรมหลักสูตร “หลักเกณฑ์การจัดทำโครงการสำนักงานสีเขียว” โดยรองศาสตราจารย์สยาม   อรุณศรีมรกต  เมื่อวันที่  9  มิถุนายน   2564   ผ่านระบบ  Online  Webex   (รายชื่อผู้เข้าร่วมอบรม)

2. เข้าร่วมการอบรม “หลักเกณฑ์การจัดทำโครงการสำนักงานสีเขียว” ผู้ตรวจประเมิน เมื่อวันที่  23-25 มิถุนายน  2564  โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผ่านระบบ  Online   Zoom   meeting  (ุไฟล์การตรวจประเมินสิ่งแวดล้อม)

มีการรณรงค์และสื่อสาร ให้ข้อมูลนโยบาย ผลการใช้ทรัพยากร  กิจกรรมต่าง ๆ ด้านสิ่งแวดล้อมของสำนักงานอธิการบดี เพื่อสร้างจิตสำนึกให้บุคลากรลดการใช้พลังงานและการประหยัดทรัพยากร รวมทั้งช่องทางการรับฟังข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็น ทั้งภายในและภายนอก โดยใช้เครื่องมือในการสื่อสารและรับฟังข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็น ดังนี้

ช่องทางการติดต่อ

งานบริการกลางและยานพาหนะ กองบริหารงานทั่วไป อาคารสำนักงานอธิการบดี 02-849-6041

Website กองบริหารงานทั่วไป : https://op.mahidol.ac.th/ga/green-office/

ระบบป้ายโฆษณาดิจิตอล (Digital signage kiosk)

สติกเกอร์รณรงค์บริเวณประตูลิฟท์โดยสาร และจอโทรทัศน์ ทุกชั้น 1-5

สติกเกอร์ตามจุดต่าง ๆ

BANNER

รณรงค์การใช้บันไดแทนการใช้ลิฟต์

Line

การใช้ทรัพยากรและพลังงานในอาคารสำนักงานอธิการบดี

สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มีมาตรการในการประหยัดการใช้พลังงาน โดยมี ประกาศสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง แนวทางการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำ เชื้อเพลิงและวัสดุอุปกรณ์สำนักงานอธิการบดี  เพื่อให้บุคลากรในสำนักงานอธิการบดีปฏิบัติตาม

การประหยัดไฟฟ้า  

มีการดำเนินการในการประหยัดไฟฟ้า ดังนี้ เปิด-ปิดแอร์ตามช่วงเวลาที่กำหนด เปิดไฟพื้นที่ส่วนกลาง/ทางเดิน โถง โดยเปิดโคมเว้นโคม และเน้นการใช้แสงจากธรรมชาติมีโครงการ พลังงานทดแทน Solar Roof อยู่ในระหว่างการดำเนินการ

กราฟแสดงปริมาณการใช้ไฟฟ้า เปรียบเทียบ 4 ปี

การประหยัดน้ำประปา

โครงการบำบัดน้ำเสียกลับมาใช้ซ้ำ

การเปลี่ยนอุปกรณ์เพื่อประหยัดน้ำ

กราฟแสดงปริมาณการใช้น้ำประปา เปรียบเทียบ 4 ปี

กราฟแสดงปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เปรียบเทียบ 4 ปี

การประหยัดก๊าซธรรมชาติ

การวางแผนการเดินทาง

การประชุมออนไลน์ โดยใช้ระบบ Video Conference เพื่อลดการเดินทาง

กราฟแสดงปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติ เปรียบเทียบ 4 ปี

การประหยัดกระดาษ

การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการใช้กระดาษ

กราฟแสดงปริมาณการใช้กระดาษ เปรียบเทียบ 4 ปี

การประหยัดก๊าซเรือนกระจก

การใช้กระดาษ REUSE

กราฟแสดงปริมาณการใช้ก๊าซเรือนกระจก เปรียบเทียบ 4 ปี

แนวทางการใช้หมึกพิมพ์และวัสดุ อุปกรณ์สำนักงาน โดยใช้กิจกรรมที่ลดการใช้วัสดุ

– ระบบเทคโนโลยีต่างๆ ในการปฏิบัติการ
– การประชุมผ่านระบบ Online

การจัดประชุม

กำหนดให้มีการประชุมผ่านระบบ Online แบบ 100  %   โดยใช้ระบบ zoom และระบบ webex โดยติดตั้งระบบประชุม Online ทุกห้องประชุม ในอาคารสำนักงานอธิการบดีเพื่อลดการใช้กระดาษ

อากาศในสำนักงาน

การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน โดยมีแผนการดูแลบำรุงรักษา(เครื่องปรับอากาศ, เครื่องถ่ายเอกสาร) และกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตามแผนการดูแลบำรุงรักษา ดังนี้

การดูแลเครื่องปรับอากาศ

  1. จ้างเหมาบริการดูแลบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศอาคารสำนักงานอธิการบดี  จำนวน   146  เครื่อง  มีระยะเวลาตามสัญญาจ้างเป็นเวลา  1  ปี   พนักงานดูแลเครื่องปรับอากาศประจำอาคาร    จำนวน  2   คน
  2. แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับการจ้าง
  3. แต่งตั้งผู้ควบคุมงาน จากงานบริการกลางและยานพาหนะ เป็นผู้ควบคุมงาน
  4. กำหนดแผนการดูแลบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศอาคารสำนักงานอธิการบดี   ดังนี้
  5. ตรวจเช็คระบบการทำงานรายวัน ผ่าน QR CODE
  6. ล้างย่อย 2 ครั้ง/ปี
  7. ล้างใหญ่ 2 ครั้ง/ปี

การดูแลเครื่องถ่ายเอกสาร มาตรการการใช้เครื่องปริ้นท์เตอร์และพื้นที่ติดตั้ง

  1. กำหนดให้ใช้ระบบเครื่องถ่ายเอกสาร แบบ (Multifunction) แทนเครื่องปริ้นเตอร์
  2. ลดการใช้เครื่องปริ้นเตอร์
  3. จัดวางเครื่องถ่ายเอกสารบริเวณพื้นที่ภายนอกห้องทำงาน

การดูแลรักษาความสะอาด

สัญญาจ้างเหมาบริการรักษาความสะอาด

จ้างเหมาบริการรักษาความสะอาดพื้นที่อาคารสำนักงานอธิการบดี เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดที่ผลิตในห้อง  LAB ที่มีมาตรฐานสูง ผ่านการรับรองว่ามีกระบวนการผลิตที่มีมาตรฐาน ISO ได้รับรองมาตรฐาน (good Manufacturing Practice) จากสำนักงานกรมการอาหารและยา และผ่านการตรวจสอบจากกกรมควบคุมมลพิษ ซึ่งให้การรับรองว่าเป็นผลิตภัณพ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีระยะเวลลาตามสัญญาจ้าง 3 ปี พนักงานรักษาความสะอาด จำนวน 20 คน หัวหน้าควบคุม จำนวน 1 คน

-ชั้น 1     จํานวน 7 คน
-ชั้น 2     จํานวน 3 คน
-ชั้น 3     จํานวน 3 คน
-ชั้น 4     จํานวน 3 คน
-ชั้น 5     จํานวน 4 คน

กําหนดแผนการดูแลรักษาความสะอาดพื้นที่อาคารสำนักงานอธิการบดี ดังนี้

  1. การดูแลรักษาความสะอาดประจํา วัน
  2. การดูแลรักษาความสะอาดประจํา สัปดาห์
  3. การดูแลรักษาความสะอาดประจํา ประจำเดือน
  4. การดูแลรักษาความสะอาดประจํา ประจํา 6 เดือน

 มาตรการลดมลพิษจากควันรถยนต์

  1. ดับเครื่องทุกครั้งเมื่อจอดรถเป็นเวลานาน
  2. ไม่สตาร์ทเครื่องยนต์รอ และเร่งเครื่องรุนแรง เมื่ออยู่ในเกียร์หรือขณะออกรถ
  3. ตรวจเช็คเครื่องยนต์สม่ำเสมอ
  4. เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องและกรองน้ำมันเครื่อง เมื่อครบระยะ

การป้องกันและกำจัดแมลง
แผนการควบคุมสัตว์นำโรค
สัญญาจ้างปลวก-หนู 

การสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบการเกิดมลพิษทางอาคาร
การแจ้งเหตุ
ผัง call tree

การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่
การรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ 
จุดสูบบุหรี่

การควบคุมมลพิษการก่อสร้าง
ประกาศนโยบายการจัดการของเสียอันตราย
ประกาศหลักเกณฑ์และมาตรการดำเนินงานก่อสร้าง
กั้นเขตพื้นที่ก่อสร้าง
สื่อสารติดป้ายแจ้งเตือน

แสงในอาคาร
ตรวจความเข้มของแสง
มาตรฐานเครื่องวัดแสง
ผู้ตรวจวัดแสง

การควบคุมมลพิษทางเสียง
ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์และมาตรการดำเนินงานก่อสร้างภายในมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา พ.ศ. 2552 pdf

ความน่าอยู่ การดูแลระบบอาคารสำนักงานอธิการบดี

  1. ลิฟต์ จ้างดูแลบำรุงรักษารายปี โดยตรวจเช็คทุกเดือนตาม TOR ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  2. เครื่องกำเนิดไฟฟ้า จ้างดูแลบำรุงรักษารายปี โดยตรวจเช็คทุก 1 เดือน ตามTORที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  3. หนู ปลวก มด แมลงสาบ จัดจ้างผู้รับจ้างดูแลจำกัดปลวก มด หนู แมลงสาบ ทุกเดือน ตามTOR ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  4. เครื่องถ่ายเอกสาร,เครื่องปริ้นท์ เช่าใช้บริการโดยผู้รับจ้าง ดูแลบำรุงรักษาเครื่องอย่างน้อยเดือนละ 2 ครั้ง ตาม TOR ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  5. โทรศัพท์ จ้างดูแลบำรุงรักษารายปี โดยตรวจเช็คทุก 2 เดือน ตาม TOR ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  6. เครื่องปรับอากาศ จ้างดูแลบำรุงรักษารายปี โดยล้างย่อยทุก 2 เดือน และล้างใหญ่ ทุก 6 เดือน ตาม TOR ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
  7. ความสะอาด จ้างดูแลทำความสะอาดรายปี โดยกำหนดการทำความสะอาด รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน ราย 6 เดือน ตามTOR ที่มหาวิทยาลัยกำหนด

การตรวจเช็คบำรุงรักษาวัสดุ ครุภัณฑ์ ในอาคารสำนักงาน

  1. สุขภัณฑ์ห้องน้ำ ตรวจเช็คสุขภัณฑ์ในห้องน้ำทุกวันผ่าน QR-code
  2. ตู้ MDB ตรวจเช็คตู้ MDBทุกวันผ่าน QR-code
  3. ตรวจเช็ค/บันทึกมิเตอร์ไฟฟ้า ตรวจเช็คมิเตอร์พร้อม จดบันทึกการใช้ไฟฟ้าทุกวัน ผ่าน QR-code
  4. ตรวจเช็ค/บันทึกมิเตอร์น้ำประปา ตรวจเช็คมิเตอร์พร้อม บันทึกการใช้น้ำประปาทุกวันผ่าน QR-code
  5. เครื่องดับเพลิง ตรวจเช็คเครื่องดับเพลิง พร้อมเดินเครื่องทุกสัปดาห์ผ่าน QR-code
  6. อุณหภูมิ เครื่องปรับอากาศ ตรวจเช็คอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศทุกสัปดาห์ ผ่าน QR-code
  7. ปั๊มน้ำดับเพลิง/ประปา ตรวจเช็คตู้ปั๊มน้ำดับเพลิง ปั๊มน้ำประปา ผ่าน QR-code
  8. ผนังกระจก ดูแลทำความสะอาด ทุกสัปดาห์ ตาม TOR
  9. พรม ดูแลทำความสะอาด ดูดฝุ่นทุกวัน ตาม TOR
  10. ฝ้าเพดาน ดูแลทำความสะอาด เก็บหยากไย่ทุกสัปดาห์ ตาม TOR
  11. พื้น เปลี่ยนเป็นพื้นลามิเนต ดูแลทำความสะอาด พื้นห้อง ทางเดิน ทุกวันตาม TOR

จัดกิจกรรม 5ส
มาตรฐาน 5ส
แบบประเมินออนไลน์
สรุปผล 5ส  ปี 2564
คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน 5ส
ขอความร่วมมือจัดทำ 5ส ประจำปี 2564
รายงานการประชุม 5ส
ตัวอย่างรูป 5ส

การเตรียมความพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน
การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิง (รูปกิจกรรม – รูป 2562)
การอบรมให้ความรู้การป้องกันอัคคีภัยและอพยพหนีไฟ (รูปกิจกรรม – รูป 2564)
แปลนทางหนีไฟและทางออกฉุกเฉิน
อุปกรณ์เตือนภัย

การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
การจัดซื้อ
แหล่งสืบค้นข้อมูลสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
รายงานจัดซื้อสิ้นค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

การจัดจ้าง
จ้างเหมาบริการรักษาความสะอาด (ใบรับรองมาตรฐาน )

เอกสารเพิ่มเติม
เกณฑ์ การประเมินสำนักงานสีเขียว  ประจำปี 2564 

การอ้างอิง
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (https://www.deqp.go.th/)

1.9/5 - (10 votes)