การดูแลความปลอดภัยภายในมหาวิทยาลัยมหิดล

ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา มีพื้นที่กว่า 1,240 ไร่ อีกทั้งยังเป็นมหาลัยเปิดและอยู่ใกล้ชิดกับตัวเมืองอีกทั้งยังเป็นที่สัญจรของชุมชนใกล้เคียงรวมไปถึงนักศึกษาและบุคลากรภายใน ทำให้มีคนเข้าในพื้นที่มหาวิทยาลัยงานเป็นจำนวนมากความปลอดภัยในพื้นที่จึงถือเป็นสิ่งสำคัญในลำดับแรก ดังนั้นงานจราจรและความปลอดภัย สังกัดกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่ดูแลรักษาความปลอดภัยและทรัพย์สินภายในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา โดยมีกำลังเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของทางราชการ 30 นาย ระบบเอกชน อีกมากกว่า 300 คน สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยมีนโยบายในการบริหารจัดการพนักงานรักษาความปลอดภัยเอกชน หากส่วนกลางคือกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม จัดหาได้บริษัทใด คณะ/สถาบัน จะต้องจัดหาพนักงานรักษาความปลอดภัยเอกชนในเครือข่ายเดียวกัน เนื่องจากการเข้าถึงส่วนงานกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยมีหน้าที่ในการตรวจตรารับแจ้งเหตุตลอด 24 ชั่วโมง หมายเลขโทรศัพท์และ Call Center 0-2441-4400 ๆ ได้แก่ เจ็บป่วย อุบัติเหตุ อาชญากรรม ไฟไหม้ น้ำไม่ไหล ไฟฟ้าดับ การให้บริการเมื่อรถเสีย สิ่งของสูญหาย การประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย การให้บริการเรียกแท็กซี่   โดยขั้นตอนในการดำเนินด้านความปลอดภัย

  • ประเมินความเสี่ยง
  • การบริหารการปฏิบัติงานของบริษัทคู่สัญญา
  • กำหนดแผนการดำเนินงาน
  • การรายงานและสอบสวนอุบัติเหตุ
  • การอบรมทบทวนฝึกซ้อม
  • จัดตั้งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม
  • การติดตามและประเมินผล

และเพื่อให้การช่วยเหลือในด้านต่างๆ มหาวิทยาลัยได้มีการบริการในหลายด้านที่เป็นการสนับสนุนนักศึกษา บุคลากร และบุคคลภายนอก เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุดในพื้นที่ ดังนี้

โครงการอบรมซ้อมแผนปฏิบัติการในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อเพิ่มศักยภาพบุคลากรให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที โดยมีการจัดอบรมอย่างต่อเนื่องในทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 โดยจัดอบรมทั้งนักศึกษา และบุคลากรในพื้นที่ โดยเจ้าหน้าที่ที่มีความเชี่ยวชาญเป็นผู้จัดอบรม

การติดตั้งโทรทัศน์วงจรปิดในจุดที่เปลี่ยว ทางเข้า-ออก ประตู ลานจอดรถ ถนนสายหลัก  มากกว่า 120 จุด และพัฒนาให้ทันสมัยเพื่อสามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้อย่างทันท่วงที ในแต่ละปี             

จัดเตรียมอุปกรณ์เครื่องมือที่ทันสมัยในการปฐมพยาบาลและส่งต่อผู้ประสบเหตุในพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและทันท่วงที ในทุกปี

อีกทั้งมีการจัดให้มีแผนการภาวะฉุกเฉิน กำหนดแนวทางการวางแผนด้านรักษาความปลอดภัย อารักขาบุคคลสำคัญ เป็นแนวทางให้กับคณะ/สถาบัน ในพื้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ทำให้นักศึกษา บุคลากรในพื้นที่เกิดความปลอดภัย ในชีวิตและทรัพย์สิน และทันท่วงที นับว่าเป็นความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน