สำนักงานอธิการบดี มุ่งสู่การเป็น Office of Strategic Management

หลักการและเหตุผล

ด้วยคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยมหิดล มีนโยบายพัฒนาสำนักงานอธิการบดีให้มีบทบาทขับเคลื่อนยุทธศาสตร์และผลักดันวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย (Office of Strategic Management, OSM) เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกับการดำเนินงานของส่วนงาน ที่มีการนำระบบพัฒนาคุณภาพมาใช้ปรับปรุงกระบวนการทั้งในระดับหลักสูตร (เช่น AUN-QA) และองค์กร (EdPEx) โดยแนวทางพัฒนาสำนักงานอธิการบดีใช้การประยุกต์เกณฑ์พัฒนาคุณภาพ (TQA) หมวด 2 3 และ 6 ให้เหมาะสมกับบริบท เพื่อให้กอง/ศูนย์ได้ทบทวนภารกิจและโครงร่างองค์กร กลยุทธ์การดำเนินงาน การกำหนดและวิเคราะห์ผู้รับบริการ และกระบวนการปฏิบัติที่เป็นปัจจุบัน (As-is) เพื่อนำสู่การปรับปรุงในอนาคต (To-be) อีกทั้งเพื่อตอบสนองตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานร่วมของสำนักงานฯ เรื่อง การกำหนดข้อตกลงการส่งมอบบริการ (Service Level Agreement, SLA) ความพึงพอใจของผู้รับบริการ และการปรับภาพลักษณ์การปฏิบัติของสำนักงานฯ ให้มีคุณลักษณะ “จิตบริการ งานฉับไว สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ร่วมก้าวไป WCU

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการนำระบบพัฒนาคุณภาพมาใช้ปรับปรุงระบบงานของสำนักงานอธิการบดี เพื่อมุ่งสู่การบริหารจัดการที่เป็นเลิศ
  2. เพื่อนำแนวทางการพัฒนาคุณภาพ (TQA) มาเป็นแนวทางการปรับปรุงหมวด 3 และ 6 ของแต่ละกอง/ศูนย์
  3. เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงานภายในสำนักงานอธิการบดี
  4. เพื่อเตรียมความพร้อมเชิงทัศนคติสำหรับการปรับภาพลักษณ์สำนักงานอธิการบดี “จิตบริการ งานฉับไว สร้างสรรค์สิ่งใหม่ ร่วมก้าวไป WCU

แนวทางการติดตามและวัดผล (OSM in Action)

  1. ผู้บริหารมอบหมายให้แต่ละกอง/ศูนย์ วิเคราะห์โครงร่างองค์กร ลูกค้า และกำหนดกระบวนงานที่สำคัญ เพื่อกำหนด sla รวมถึงรายงานผลตัวชี้วัด 7.1 และ 7.2 เพื่อพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้บรรลุผล
  2. กองพัฒนาคุณภาพเพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่กอง/ศูนย์ผ่านกิจกรรม OSM Special Clinic
  3. กอง/ศูนย์นำเสนอความก้าวหน้าในที่ประชุมปฏิบัติการ 2 ครั้ง
  4. คณะกรรมการคุณภาพเยี่ยมสำรวจพื้นที่การปฏิบัติงานและให้คะแนนประเมิน
  5. รายงานผลตัวชี้วัดการปฏิบัติงานร่วมของสำนักงานอธิการบดี(Common KPI) ด้านการปรับปรุง ประสิทธิภาพการทำงาน