เผยแพร่:
เผยแพร่:
แพทย์หญิงวริศร์ภรณ์ วรเกรียงไกร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ศูนย์การแพทย์กาญจนภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล
“ต้อหิน” เป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญของดวงตาที่อาจส่งผลร้ายแรงทำให้ตาบอดได้ และสิ่งที่น่ากลัวไปกว่านั้น ก็คือ “ต้อหิน”ไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด และหากเป็นแล้วแม้ได้รับการรักษาก็ไม่สามารถกลับมามองเห็นได้ดีดังเดิม ดังนั้น จึงควรหมั่นตรวจเช็คสุขภาพตากับจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิดเพื่อเตรียมพร้อมรับมือได้อย่างทันท่วงที แล้วปลายทางของโรค“ต้อหิน”ก็ไม่จำเป็นจะต้องจบที่ “ตาบอด” เสมอไป ทั้งนี้ มีคนไทยมากกว่า 2 ล้านคนเป็น “ต้อหิน” และกว่า 76 ล้านคน ทั่วโลกในปี 2020
แพทย์หญิงวริศร์ภรณ์ วรเกรียงไกร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า เบื้องต้นผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการใด ๆ ทำให้ไม่ทราบว่าตนเองเป็น “ต้อหิน” การตรวจพบได้ใน ระยะนี้จึงมักจะเป็นการตรวจพบโดยบังเอิญ จากนั้นการมองเห็นจะเริ่มแคบลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งมีอาการตามัวซึ่งเป็นการที่พบได้ในระยะท้ายของโรค และหากไม่ได้รับการรักษาก็จะทำให้ตาบอดได้ในที่สุด ยกเว้นในรายที่เป็น“ต้อหิน”มุมปิดเฉียบพลัน จะมีอาการปวดตาอย่างรุนแรง ปวดศีรษะ ตามัว ตาแดง สู้แสงไม่ได้ น้ำตาไหล ซึ่งถือเป็นภาวะเร่งด่วนที่ต้องพบจักษุแพทย์
ที่มา : ชมรมต้อหินแห่งประเทศไทย
สาเหตุการเกิด “ต้อหิน”เกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา อาจจะเกิดได้จากการสร้างน้ำที่มากขึ้น หรือมีการขับออกของน้ำน้อยกว่าปกติ เมื่อมีน้ำขังมากขึ้นก็ทำให้ความดันตาสูงขึ้น จึงเกิดการทำลายเซลล์ในขั้วประสาทตา โดยทั่วไปค่าความดันตาปกติจะอยู่ที่ 5-22 มิลลิเมตรปรอท หากพบความดันตาสูงกว่า 22 มิลลิเมตรปรอท จะถือว่ามีความดันตาสูง และเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดต้อหิน
*ที่มา: https://www.specialtyeyecarecentre.com/glaucoma-seattle/
สำหรับประเภท แบ่งตามลักษณะมุมตา ได้แก่ “ต้อหิน” ชนิดมุมตาปิด และ “ต้อหิน” ชนิดมุมตาเปิด แบ่งตามสาเหตุ ได้แก่ “ต้อหิน” ชนิดปฐมภูมิที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน และ “ต้อหิน” ชนิดทุติยภูมิที่มีสาเหตุจากโรคตาอื่น ๆ เช่น เคยเกิดอุบัติเหตุเกี่ยวกับดวงตา การอักเสบในลูกตา ต้อกระจก เบาหวานขึ้นตา เป็นต้น และแบ่งตามระยะการเกิดโรค ได้แก่ ต้อหินเฉียบพลัน และต้อหินเรื้อรัง
ในส่วนการรักษา เนื่องจากต้อหินเป็นโรคที่เกิดจากขั้วประสาทตาถูกทำลายอย่างถาวร เซลล์ที่ตายแล้วจะไม่สามารถกำเนิดใหม่ได้อีก การรักษาจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองเพื่อไม่ให้ขั้วประสาทตาถูกทำลายมากขึ้นและคงการมองเห็นที่มีอยู่ให้ได้นานที่สุด โดยการรักษาจะแบ่งออกเป็น
1.การรักษาด้วยยา เป็นการรักษาเบื้องต้นที่ดีที่สุด เป้าหมายคือเพื่อลดความดันตาให้อยู่ในเกณฑ์ที่ขั้วประสาทตาจะไม่ถูกทำลายมากขึ้น การรักษาวิธีนี้ผู้ป่วยจำเป็นต้องหยอดยาให้สม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน โดยอาจจะเริ่มด้วยยาเพียงชนิดเดียวหรือหลายชนิด แพทย์จะทำการติดตามผลเป็นระยะเพื่อปรับยา ดูการดำเนินโรค และดูผลข้างเคียงของยา
2.การรักษาด้วยแสงเลเซอร์ การรักษาวิธีนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของ“ต้อหิน” และระยะของโรค
• Laser peripheral iridotomy (LPI) ใช้สำหรับการรักษา“ต้อหิน”มุมปิด เพื่อป้องกันการเกิดต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน
• Selective laser trabeculoplasty (SLT) ใช้สำหรับการรักษา“ต้อหิน” มุมเปิด โดยอาจใช้เป็นการรักษาแรก ๆ เพื่อลดความดันตา หรือใช้เสริมเมื่อใช้ยาหยอดแล้วได้ผลไม่ดีนัก
• Laser cyclophotocoagulation ใช้ในกรณีที่ใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ แล้วไม่ได้ผล
3.การรักษาโดยการผ่าตัด ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมความดันตาโดยการหยอดยาหรือเลเซอร์ได้ โดยการผ่าตัดมีได้หลายวิธี เช่น การผ่าตัดทำทางระบายน้ำภายในลูกตา(Trabeculectomy) การผ่าตัดใส่ท่อระบายน้ำลูกตา(Glaucoma drainage device)
การนวดตา สมุนไพร และอาหารเสริมไม่ใช่การรักษาที่เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับ นอกจากไม่ทำให้เกิดประโยชน์แล้ว ยังอาจจะก่อให้เกิดโทษทำให้โรคแย่ลง โดยเฉพาะในผู้ป่วย“ต้อหิน”ระยะสุดท้าย ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ควรมาพบจักษุแพทย์เพื่อคัดกรอง“ต้อหิน” ปีละครั้ง ได้แก่
• อายุมากกว่า 40 ปี
• มีญาติสายตรง(บิดามารดา พี่น้อง)เป็นต้อหิน
• มีอายุมากกว่า 35 ปี
• มีประวัติอุบัติเหตุที่ตา
• ใช้สารสเตียรอยด์เป็นประจำ
• สายตาสั้นมาก หรือสายตายาวมาก
• เป็นเบาหวาน
ท่านสามารถนัดหมายและสอบถามเพิ่มเติมข้อมูลได้ที่ : คลินิกจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 02-849-6600 ต่อ 3300 หรือ 3301 หรือรายละเอียดที่ : https://www.gj.mahidol.ac.th/main/clinic/ophthalmology-clinic/
เรียบเรียงบทความ โดย คุณสุทธิรัตน์ สวัสดิภาพ
นักประชาสัมพันธ์ งานสื่อสารองค์กร กองบริหารงานทั่วไป
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |