กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
Financial Literacy : DCU (Digital Convergence University)
17/12/2018
ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการอบรม “การใช้งานระบบ MUx เพื่อการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (Online Instruction on MUx) ครั้งที่ 1/2563”
01/11/2019

โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Excellent Teaching and Learning Program Module 1: Foundations in Learning and Teaching

หลักการและเหตุผล

                   มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ระยะ 20 ปี(พ.ศ.2561-2580) ไว้ 4 ยุทธศาสตร์  โดยยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยที่ 2 คือ Academic and Entrepreneurial Education เป้าประสงค์หลักเพื่อสร้างบัณฑิตให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และเป็น world class talents กลยุทธ์หนึ่ง คือ มุ่งเน้นพัฒนาอาจารย์และบุคลากรให้มีศักยภาพด้านการศึกษาและกิจการนักศึกษา โดยมีทักษะด้าน 21st Century Skills, Entrepreneur, Internationalization, Management of Educational and Student Affairs กลไกสำคัญที่เป็นเครื่องมือในการผลิตบัณฑิตเหล่านี้ คือ อาจารย์ผู้สอน  มหาวิทยาลัยมหิดลตระหนักและเห็นความสำคัญเรื่องดังกล่าว จึงได้สร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลกับ Macquarie University เพื่อพัฒนาอาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดลให้มีสมรรถนะตามแนวทางการส่งเสริมคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

                   ดังนั้น เพื่อให้สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย กองบริหารการศึกษาจึงกำหนดจัด โครงการการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง Excellent Teaching and Learning Program Module 1: Foundations in Learning and Teaching ขึ้น เพื่อเพิ่มพูนความรู้ พื้นฐานในการจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลของการจัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อให้คณาจารย์เข้าใจวิธีการใช้การสะท้อนกลับที่สำคัญในการเรียนรู้และการสอนด้วยตนเอง
  2. เพื่อให้คณาจารย์เข้าใจวิธีการสนับสนุนเชิงทฤษฎีของการฝึกปฏิบัติทางวิชาการเพื่อระบุกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา โดยนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง
  3. เพื่อให้คณาจารย์เข้าใจทฤษฎีและการวิจัย ตลอดจนสามารถนำมาใช้เพื่อตีความการสอน
  4. เพื่อให้คณาจารย์สามารถสาธิตวิธีจัดหน่วยผลลัพธ์กิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินงาน และสามารถให้ข้อเสนอแนะได้
  5. เพื่อให้คณาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการสอนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
  6. เพื่อให้คณาจารย์มีส่วนร่วมในการฝึกฝน เช่น การทบทวนเพื่อปรับปรุงการสอน และการเรียนรู้

วิทยากร   Prof. Gary Falloon, Professor & Chair of Teacher Education, Department of Education Studies Macquarie University และทีม

วิธีการดำเนินการ  บรรยาย กิจกรรมกลุ่ม และวิธีการอื่นที่เหมาะสม

ภาษาที่ใช้ในการอบรม  ภาษาอังกฤษ

คุณสมบัติของผู้เข้าอบรม

  1. อาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดลมีอายุการทำงานมากกว่า 3 ปีขึ้นไป
  2. เป็นผู้บริหารด้านการศึกษาของส่วนงาน
  3. เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรหรือรายวิชา
  4. หลังจากผ่านการอบรม ผู้เข้าอบรมสามารถเป็นวิทยากรด้านการศึกษาให้มหาวิทยาลัย
  5. ผู้เข้าอบรมต้องเข้าเรียน Pre – course online introduction ล่วงหน้าก่อน 2 สัปดาห์

ก่อนเริ่มการอบรมแบบ face – to – face ตั้งแต่วันที่ 17 – 20 มิถุนายน พ.ศ.2562

จำนวนผู้เข้าอบรม ครั้งละ 30 คน

ระยะเวลาการจัดอบรม  จำนวน 4 วัน ตั่งแต่วันที่ 17 – 20 มิถุนายน พ.ศ.2562

สถานที่จัดอบรม ห้องปฏิบัติการบริหารธุรกิจ ห้อง A447 อาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

เกณฑ์การผ่านการอบรม

ผู้เข้าอบรมต้องสามารถเข้ารับการอบรมได้ไม่น้อยกว่า 80% ของระยะเวลาการอบรมทั้งหมดและต้องส่งงานให้ครบตามที่วิทยากรมอบหมาย หากผู้เข้าอบรมไม่สามารถเข้าอบรมได้ตามระยะเวลาที่กำหนดและส่งงานไม่ครบตามที่วิทยากรมอบหมาย ส่วนงานต้นสังกัดของผู้เข้าอบรมจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดของผู้เข้าอบรมคนละ 105,000 บาท (หนึ่งแสนห้าพันบาทถ้วน)

งบประมาณในการดำเนินการ

         เงินโครงการ Mahidol Digital Convergence University(Mahidol DCU) ฝ่าย Staff Training

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ                                                   

  1. คณาจารย์มีความรู้ ความเข้าใจวิธีการใช้การสะท้อนกลับที่สำคัญในการเรียนรู้และการสอนด้วยตนเอง
  2. คณาจารย์มีความรู้ ความเข้าใจวิธีการสนับสนุนเชิงทฤษฎีของการฝึกปฏิบัติทางวิชาการเพื่อระบุกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของนักศึกษา โดยนักศึกษาเป็นศูนย์กลาง
  3. คณาจารย์มีความรู้ ความเข้าใจทฤษฎีและการวิจัย ตลอดจนสามารถนำมาใช้เพื่อตีความการสอน
  4. คณาจารย์สามารถสาธิตวิธีจัดหน่วยผลลัพธ์กิจกรรมการเรียนรู้ การประเมินงานและสามารถให้ข้อเสนอแนะได้
  5. คณาจารย์ตระหนักถึงความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในการสอนเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ
  6. คณาจารย์มีส่วนร่วมในการฝึกฝน เช่น การทบทวนเพื่อปรับปรุงการสอน และการเรียนรู้

หน่วยงานที่รับผิดชอบ  งานพัฒนาการศึกษา กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 0-2849-4577-78


กำหนดการ

วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562

08:30 – 09.00 น.       ลงทะเบียนและรับเอกสารประกอบการอบรม หน้าห้อง A 447

09:00 – 09:10 น.       กล่าวเปิดการประชุม

โดย ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา

09:10 – 10:15 น.       How students learn in relation to different approaches to teaching, in higher education (1)

10:15 – 10:30 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

10:30 – 12:00 น.       How students learn in relation to different approaches to teaching,  in higher education (2)

12:00 – 13:00 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

13:00 – 14:15 น.       How students learn in relation to different approaches to teaching,  in higher education (3)

14:15 – 14:30 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

14:30 – 16:30 น.       How students learn in relation to different approaches to teaching, in higher education (4)

วันอังคารที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2562

09:00 – 10:15 น.       Fundamental elements of effective teaching in higher education (1)

10:15 – 10:30 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

10:30 – 12:00 น.       Fundamental elements of effective teaching in higher education (2)

12:00 – 13:00 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

13:00 – 14:15 น.       Fundamental elements of effective teaching in higher education (3)

14:15 – 14:30 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

14:30 – 16:30 น.       Fundamental elements of effective teaching in higher education (4)

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562

09:00 – 10:15 น.       Enhancing student engagement (1)

10:15 – 10:30 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

10:30 – 12:00 น.       Enhancing student engagement (2)

12:00 – 13:00 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

13:00 – 14:15 น.       Enhancing student engagement (3)

14:15 – 14:30 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

14:30 – 16:30 น.       Enhancing student engagement (4)

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2562

09:00 – 10:15 น.       Fundamental elements of effective teaching in higher education (1)

10:15 – 10:30 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

10:30 – 12:00 น.       Fundamental elements of effective teaching in higher education (2)

12:00 – 13:00 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน

13:00 – 14:15 น.       Fundamental elements of effective teaching in higher education (3)

14:15 – 14:30 น.       พักรับประทานอาหารว่าง

14:30 – 16:30 น.       Fundamental elements of effective teaching in higher education (4)

16.30 – 17.00 น.      กล่าวปิดโครงการ / มอบวุฒิบัตร

โดย ศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สุวัฒน์ เบญจพลพิทักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษา

 คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลดเอกสารโครงการฯ