Innovative Organization : องค์การแห่งนวัตกรรม

ปัจจัยแห่งความสำเร็จของมหาวิทยาลัยมหิดลที่สำคัญประการหนึ่งคือ บุคลากร ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้ให้ความสำคัญกับบุคลากรและการพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องตลอดมา ดังจะเห็นได้จากมีการนำเครื่องมือและกระบวนการต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ขับเคลื่อนด้านการพัฒนาคุณภาพบุคลากร ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย ให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก การจัดงานมหกรรมคุณภาพนับเป็นเครื่องมือและกระบวนการหนึ่งที่ใช้เป็นพื้นที่ในแสดงการพัฒนางานจากบุคลากรของมหาวิทยาลัย ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพงานไปพร้อมๆกับการพัฒนาบุคลากร โดยในปี 2562 นี้ งานมหกรรมคุณภาพจัดภายใต้หัวข้อ “Innovative Organization : องค์การแห่งนวัตกรรม”

มหาวิทยาลัยมหิดลหวังเป็นอย่างยิ่งว่างานมหกรรมคุณภาพ จะเป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดความคิดริเริ่มพัฒนาด้านต่างๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี อีกทั้งเป็นพื้นที่แห่งความภาคภูมิใจสำหรับผู้ได้รับรางวัลและผู้นำเสนอผลงาน และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมงานทุกท่านเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ พัฒนาตน พัฒนางานนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องให้กับมหาวิทยาลัยต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.สมภพ  ประธานธุรารักษ์
รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล
ประธานคณะกรรมการจัดงาน

 
วันมหกรรม วันอังคารที่ 26 เดือนพฤศจิกายน พุทธศักราช 2562 ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
 
พิธีเปิดมหกรรมคุณภาพและ
มอบรางวัล Team Good Practice Award/ Innovative Teaching
Award
โดย อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
Poster Round Session
อาหารว่าง
การเสวนา“นวัตกรรมสร้างได้ ง่ายนิดเดียว”
บรรยายโดย

รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์
รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์

 

อาจารย์ ดร. นพ.กรกช เกษประเสริฐ
อาจารย์ประจำสาขาวิชาศัลยศาสตร์หลอดเลือดและปลูกถ่ายอวัยวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ ศูนย์พัฒนานวัตกรรมทางการแพทย์ (MIND)
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี


อาจารย์ ดร.สุพรรณ ยอดยิ่งยง
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้


ดำเนินรายการ
อาจารย์ ดร. ระพี บุญเปลื้อง
รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์
รับประทานอาหารกลางวัน
การบรรยายในห้องย่อย
Team Good Practice Award/ Innovative Teaching Award/
Oral Presentation/ Story Telling
Time Team Good Practice
& Innovative Teaching Award
Oral Presentation
& Story Telling
Oral Presentation
Room ห้องบรรยาย 1 ห้องบรรยาย 2 ห้องบรรยาย 3

12.45-
13.00

T-1 NA
โครงการ Startup

S-1 NA
พฤฒพลัง
ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

O-5 SI
นวัตกรรม Happy Foot

13.00-
13.15

T-2 RA
Inventory Distribution Center: IDC “คืนพื้นที่คลังวัสดุ”

S-2 SI  
นวัตกรรมนำทาง...
พัฒนางาน...พัฒนาคน

O-6 RA
อุปกรณ์ช่วยดึงนิ้วเท้าไขว้ คด ผิดรูป

13.15-
13.30

T-3 PT
การพัฒนาการใช้แบบบันทึกการตรวจร่างกายทางกายภาพบำบัดทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ

S-3 RS  
โอกาสครั้งยิ่งใหญ่...
ของผู้ชายในโลกเงียบ

O-7 SI
โครงการ Feeding cardอัจฉริยะ ป้ายระบุอาหารนำทางถูกคน

13.30-
13.45

T-4 DT
โครงการยุวทูตสุขภาพดี โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน

S-4 RA  
High Tech, High Touch...
เทคโนโลยีมีหัวใจ

O-8 SI
เครื่องล้างมหัศจรรย์

13.45-
14.00

I-1 SC
การจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานรายวิชาแบคทีเรีย: กรณีศึกษาเพื่อเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการเรียนรู้ของนักศึกษาไทยในมหาวิทยาลัย

O-1 RA
Learning from Practice :ถอดบทเรียนปัจจัยสู่ความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพงาน

O-9 DT
การพัฒนาอุปกรณ์แร็คเก็บความเย็นประดิษฐ์

14.00-
14.15

I-2 NS
Enhancing patient safety through inter-professional collaborative practice

O-2 RA
การให้ยาคุมอาการในผู้ป่วยระยะท้าย
ทางชั้นใต้ผิวหนังอย่างต่อเนื่องที่บ้าน

O-10 NS
E-Paper
ด้วยเทคโนโลยี Cloud Service

14.15-
14.30

I-3 AM
ผลการพัฒนารูปแบบการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสาธารณสุข โดยการเรียนผ่านการลงมือปฏิบัติบนฐานบริบท

O-3 SI
S.O.S
(Save Our Skin)

O-11 SI
รถสระผมเคลื่อนที่ปาวา 2 ซาลอน

14.30-
14.45

I-4 SI
ผลของการใช้ระบบตอบสนองโดยผู้เรียน (คาฮูท และ กูเกิ้ลฟอร์มและชีท) ต่อการเรียนรู้ของนักศึกษาแพทย์ในห้องเรียนขนาดใหญ่

O-4 NS  
การพัฒนากระบวนการเบิกจ่ายเงินทุนวิจัย
จากกองทุนซี.เอ็ม.บี. คณะพยาบาลศาสตร์

O-12 SI
ปิดเพื่อปอด

อาหารว่าง
การบรรยายพิเศษ "นวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน"
บรรยายโดย

คุณทรงกลด บางยี่ขัน
บรรณาธิการบริหารและผู้ร่วมก่อตั้งนิตยสารออนไลน์ The Cloud

ประกาศผลการพิจารณาผลงาน & มอบรางวัล
   

ข้อกำหนดทั่วไป

Key Dates !
ปิดรับส่งผลงาน 31 ส.ค. 62
ประกาศผลการคัดเลือก 17 ต.ค. 62
   
นำเสนอผลงาน 26 พ.ย. 62

ผลงาน

  1. ไม่คัดลอก-เลียนแบบผลงานอื่น/ผู้อื่น
    (การละเมิดลิขสิทธิ์-ผิดกฎหมาย-ผิดจริยธรรมถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ส่งบทความโดยตรง)
  2. ไม่เคยถูกคัดเลือกให้นำเสนอในงานมหกรรมคุณภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลมาก่อน เว้นแต่มีการปรับปรุงกระบวนการ/ แนวทาง/ ผลลัพธ์เพิ่มขึ้นที่เห็นได้ชัดเจน
  3. ดำเนินการแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปีนับจนถึงวันจัดมหกรรมคุณภาพ
    (ต้องดำเนินการแล้วเสร็จหลังจากวันที่ 27 พฤศจิกายน 2560)
  4. ผลงานที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก จะถูกเผยแพร่บนสื่อของมหาวิทยาลัยมหิดล ในรูปแบบต่าง ๆ โดยไม่จำเป็นต้องขอความยินยอมอีกครั้ง และแจ้งให้ทราบล่วงหน้า

เจ้าของผลงาน / ผู้นำเสนอผลงาน / ทีมงาน

  1. ต้องเป็นบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งอาจเป็นบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มบุคคล ก็ได้
  2. อาจเป็นผลงานระหว่างหน่วยงาน/ส่วนงานภายในมหาวิทยาลัย โดยอาจมีองค์กรภายนอกร่วมด้วยในฐานะคู่ความร่วมมือ (Partner) หรือผู้ส่งมอบ (Supplier) ของกระบวนการก็ได้ (ทั้งนี้การพิจารณารางวัลจะให้น้ำหนักกับงานในส่วนที่พัฒนา/ดำเนินการขึ้นภายในมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นลำดับต้น)
  3. สามารถส่งได้ 1 ผลงานในฐานะ "ผู้ดำเนินการหลัก" และหลายผลงานในฐานะ "ผู้ดำเนินการร่วม"
  4. ผู้นำเสนอผลงานในวันมหกรรม ต้องมานำเสนอผลงานด้วยตนเองในวันงานตามเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจะถือว่าท่านสละสิทธิ์ในการนำเสนอผลงาน

ประเภทผลงาน

T
Team Good Practice
I
Innovative Teaching
P Poster & Oral presentation
ข้อมูลทั่วไป

เป็นกระบวนการทำงานที่เป็นเลิศที่ดำเนินการโดยคณะบุคคลที่เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยกลุ่มบุคคล (Team) อาจเป็น Team ตามหน่วยงานที่ระบุในโครงสร้างองค์กรของส่วนงานหรือเป็น Team งานเฉพาะกิจที่ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อพันธกิจเฉพาะของส่วนงานก็ได้ และกระบวนการ (Process) ที่นำเสนอควรเป็นกระบวนการ (Process) หลักที่นำไปสู่วิสัยทัศน์ของ Team



ผลงานควรประกอบไปด้วย
  1. ความสำคัญของปัญหา
    ระบุสภาพปัญหาและมีการวิเคราะห์ปัญหา ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์/ข้อมูลอ้างอิงชัดเจนมีความคิดริเริ่ม น่าสนใจและสมเหตุสมผล

  2. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
    วัตถุประสงค์สอดคล้องกับประเด็นปัญหาที่พบ มีการกำหนดตัวชี้วัด (Leading KPI และ Lagging KPI ) ที่เหมาะสม สอดคล้องกับเป้าหมาย

  3. กระบวนการพัฒนาเป็นทีม
    แสดงการกำหนดเป้าหมาย ตอนการพัฒนาของทีมที่สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร)

  4. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    แสดงผลลัพธ์ตามตัวชี้วัดก่อนและหลังการดำเนินงานการพัฒนา ซึ่งอาจแสดงแนวโน้มการพัฒนา หรือเทียบเคียงกับคู่เทียบหรือคู่แข่ง

  5. การใช้ประโยชน์
    แสดงการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งภายในส่วนงาน ภายในมหาวิทยาลัย หรือองค์กรอื่นภายนอกมหาวิทยาลัยหรือแสดงการดำเนินการจดทรัพย์สินทางปัญญา

  6. ผลกระทบที่เกิดขึ้น
    แสดงผลสำเร็จของทีมส่งผลกระทบต่อการปรับปรุงกระบวนการสนับสนุน/ระบบงานหลัก/ต่อผลลัพธ์หลักที่สำคัญหรือต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของส่วนงาน
ข้อมูลทั่วไป

กระบวนการที่เป็นเลิศในด้านการเรียนการสอน ซึ่งเป็นรูปแบบหรือกระบวนการในการจัดการเรียนการสอน หรือการวัดและประเมินผล ที่ออกแบบใหม่ หรือปรับปรุงจากของเดิม โดยมีผลลัพธ์ให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียน (Learning Outcome) ที่ดีขึ้น


ผลงานควรประกอบไปด้วย
  1. ที่มาของปัญหาและวัตถุประสงค์
    ระบุสภาพและมีการวิเคราะห์ปัญหา ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์/ข้อมูลอ้างอิงชัดเจน)

  2. วิธีการ design /redesign
    กระบวนการเรียนรู้ ที่แสดง innovative teaching approach แสดงแนวทางการ design /redesign กระบวนการเรียนรู้ สอดคล้องกับสาเหตุสำคัญของปัญหาและแสดงแนวคิดทฤษฏีทางการศึกษา และความคิดสร้างสรรค์นำไปสู่แนวคิดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (innovative teaching and learning approach) หรือการประเมินผลการจัดการเรียนการสอนรวมทั้งมีแผนดำเนินการแสดงกรอบระยะเวลาและวิธีปฏิบัติทุกขั้นตอน และมีการกำหนดตัวชี้วัดทั้ง leading & lagging Indicators

  3. แผนการดำเนินกิจกรรม และตัวชี้วัด
    มีแผนดำเนินการแสดงกรอบระยะเวลาและวิธีปฏิบัติทุกขั้นตอน มีการกำหนดตัวชี้วัดทั้ง leading & lagging Indicators และทำได้ตามแผน

  4. ผลลัพธ์
    มีการรายงานผลลัพธ์ การวัดผล ก่อนและหลังการดำเนินงานการพัฒนา ซึ่งอาจจะแสดงแนวโน้มการพัฒนาหรือผลลัพธ์เทียบเคียงกับคู่เทียบหรือคู่แข่ง

  5. ผลกระทบที่เกิดขึ้น
    แสดงผลลัพธ์ส่งผลกระทบต่อการปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนของรายวิชา/หลักสูตร หรือมีการขยายผลไปยังหลักสูตรอื่นของส่วนงาน
ข้อมูลทั่วไป
เป็นผลงานที่มีการคิดวิเคราะห์หาสาเหตุ และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการทำงาน และนำสาเหตุหรือปัจจัยนั้นมาวางแผนปรับปรุง/พัฒนากระบวนการทำงาน โดยใช้หลักการของวงจรคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA) /หลักการวิจัย หรือสร้างสิ่งประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ กระบวนการใหม่ โดยแสดงให้เห็นผลผลิต/ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น/ผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานมากขึ้น และนำไปสู่แนวทาง/ข้อสรุปเพื่อพัฒนาคุณภาพในระยะต่อไป

แบ่งออกเป็น 11 กลุ่มผลงาน 2 รูปแบบ คือ

กลุ่มผลงาน
  1. งานทรัพยากรบุคคล
  2. กระบวนการเรียนการสอน
  3. การบริหารการศึกษา
  4. การพัฒนานักศึกษา
  5. การบริหารการวิจัย
  6. การบริหารงานทั่วไป
  7. การบริการวิชาการ
  8. การบริการสุขภาพ
  9. งานคลังและพัสดุ
  10. Eco University
  11. อื่น ๆ

รูปแบบผลงาน
  1. R2R (Routine to Research)

    กระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการอย่างเป็นระบบของผู้ปฏิบัติงานประจำในการแก้ปัญหาและยกระดับการพัฒนางานที่รับผิดชอบอยู่ให้เป็นความรู้ในเชิงงานวิจัย โดยมีผลลัพธ์เป็นการพัฒนาตนเองและเพื่อนร่วมงาน ซึ่งส่งผลกระทบให้สามารถบรรลุเป้าหมายขององค์กร


  2. Innovations (นวัตกรรม)
    สิ่งใหม่ๆ เป็นที่เลียนแบบได้ยาก เช่น ผลิตภัณฑ์ โปรแกรม บริการ วิธีการปฏิบัติ กระบวนการ หรือประสิทธิภาพขององค์กร ที่ผ่านการสร้าง/ออกแบบ/พัฒนา/ปรับปรุง ให้มีความแตกต่างจากเดิม เพื่อใช้แก้ปัญหา หรือปรับปรุงระบบงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้ทรัพยากรได้น้อยลง ลดความเสี่ยง สร้างคุณค่าให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (ลูกค้า พนักงาน สังคม และคู่ค้า)

S
Storytelling
ข้อมูลทั่วไป
เป็นเรื่องที่ปลุกเร้า สร้างพลัง ให้กำลังใจในการปฏิบัติงาน กับบุคลากรทุกประเภทของมหาวิทยาลัยมหิดล

 

กลุ่มผลงาน
  1. งานทรัพยากรบุคคล
  2. การจัดการความรู้
  3. กระบวนการเรียนการสอน
  4. การบริหารการศึกษา
  5. การพัฒนานักศึกษา
  6. การบริหารการวิจัย
  7. การบริการทั่วไป
  8. การบริการวิชาการ
  9. การบริการสุขภาพ
  10. งานคลังและพัสดุ
  11. Eco University

รูปแบบการนำเสนอ
  1. เล่าผ่านบทความ
  2. เล่าผ่าน Clip สั้น

รางวัล

A Team Good Practice
B Innovative Teaching
C Oral presentation
Team Good Practice Award
(ประมาณ 3 รางวัล)
  1. โล่ประกาศเกียรติคุณ
  2. เกียรติบัตร
  3. เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท

Innovative Teaching Award
(ประมาณ 3 รางวัล)
  1. โล่ประกาศเกียรติคุณ
  2. เกียรติบัตร
  3. เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท
R2R (Routine to Research)
ดีเด่น (1 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท

ชมเชย (3 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 2,500 บาท

Innovations (นวัตกรรม)

ดีเด่น (1 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท

ชมเชย (3 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 2,500 บาท
C
Poster presentation
R2R (Routine to Research)
ดีเด่น (1 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 3,000 บาท

ชมเชย (3 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 1,500 บาท

Innovations (นวัตกรรม)

ดีเด่น (1 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 3,000 บาท

ชมเชย (3 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 1,500 บาท

Popular Vote

(1 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท
S
Story telling

ให้นำเสนอ
(4 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท

การนำเสนอในวันมหกรรม

Key Dates !
ยืนยันนำเสนอผลงาน 21 ต.ค. 62
ปิดลงทะเบียนเข้าร่วม 31 ต.ค. 62
จัดส่งไฟล์ Poster บนระบบ ภายใน 1-10 พ.ย. 62
นำเสนอผลงาน 26 พ.ย. 62

ข้อพึงระวัง

  1. ต้องลงทะเบียนยืนยันการนำเสนอผลงานภายในวันที่ 21 ตุลาคม 2562
  2. จัดส่งไฟล์เอกสารในแต่ละประเภท ระหว่างวันที่ 1-10 พฤศจิกายน 2562 บนระบบจัดส่งผลงาน
  3. ผลงานที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือก (ในประเภท Oral และ Poster Presentation) จะถูกเผยแพร่บน Website Mahidol Quality Fair#2019 ในระบบ Intranet และจัดพิมพ์ลงบนหนังสือรวบรวมผลงาน
  4. มหกรรมคุณภาพ จะสำรองที่นั่งอัตโนมัติสำหรับผู้นำเสนอผลงานที่ยืนยันผ่านระบบยืนยันการนำเสนอผลงานเท่านั้น สำหรับผู้ร่วมในทีม โปรดลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม
  5. การตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด


การจัดทำเอกสารและสื่อนำเสนอ

T
Oral Presentation
I
Poster Presentation
P Story Telling
โปรดสนใจ
  1. ระยะเวลาในการนำเสนอผลงาน 10 นาที และช่วงตอบคำถาม 5 นาที
  2. ไม่จำกัดเทคนิค กระบวนการ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ หากนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint แนะนำอัตราส่วนที่แสดงผลได้ดีอยู่ที่ 16:9
  3. นำไฟล์นำเสนอผลงาน มาบันทึกลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้จัดกิจกรรมในเวลา 7.00 น. ในวันที่ 26 พฤศจิกายน 2562
  4. จัดพิมพ์ผลงานที่นำเสนอ (Handout) จำนวน 10 ชุด (ขนาด 4 Slide / 1 แผ่น) เพื่อมอบให้คณะกรรมการฯ ในวันมหกรรม
  5. ผู้จัดกิจกรรม อำนวยความสะดวกเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการนำเสนอ และขอสงวนสิทธิ์ไม่เชื่อมต่ออุปกรณ์ใด ๆ นอกเหนือที่ผู้จัดเตรียมไว้
  6. เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดปัญหากับฟ้อนต์ MS.ppt ผู้ส่งผลงานควร Embed font ให้แล้วเสร็จก่อนส่งผลงาน
    ดูวิธีการ Embed font ได้ที่นี่
โปรดสนใจ
  1. จัดทำผลงานในรูปแบบ Poster ขนาด 80 x 200 ซม. (ไม่จำกัดรูปแบบ-องค์ประกอบในการนำเสนอ)
  2. เมื่อจัดทำเสร็จแล้ว ขอให้บันทึกและจัดส่งไฟล์ ในรูปแบบ .jpg และ .pdf บนระบบจัดส่งผลงาน
    ในวันที่ 1- 10 พฤศจิกายน 2562
  3. ผู้จัดกิจกรรมให้บริการจัดพิมพ์ Poster (Roll up) โดยที่เจ้าของผลงานไม่ต้องจัดพิมพ์ ไม่เสียค่าใช้จ่ายและนำมาติดตั้งเองแต่ประการใด ทั้งนี้ เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมแล้ว ผู้จัดจะมอบแผ่น Poster ดังกล่าวให้กับผู้ส่งผลงาน

ตัวอย่างการจัดทำ Poster
(ไม่บังคับแต่ประการใด)
  1. Poster Template (MS.PowerPoint)
  2. Poster Template (AI)
  3. MQF2019_Logo (JPG)

โปรดสนใจ
  1. ระยะเวลาในการนำเสนอผลงาน 10 นาที และช่วงตอบคำถาม 5 นาที
  2. ไม่จำกัดเทคนิค กระบวนการ หรือโปรแกรมที่ใช้ในการนำเสนอ หากนำเสนอด้วยโปรแกรม Microsoft PowerPoint แนะนำอัตราส่วนที่แสดงผลได้ดีอยู่ที่ 16:9
  3. เมื่อจัดทำเสร็จแล้ว ขอให้บันทึกและจัดส่งไฟล์ ในรูปแบบ .ppt หรือ .pptx บนระบบจัดส่งผลงาน
    ในวันที่ 1- 10 พฤศจิกายน 2562
  4. ผู้จัดกิจกรรม อำนวยความสะดวกเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในการนำเสนอ และขอสงวนสิทธิ์ไม่เชื่อมต่ออุปกรณ์ใด ๆ นอกเหนือที่ผู้จัดเตรียมไว้
  5. เพื่อป้องกันปัญหาการเกิดปัญหากับฟ้อนต์ MS.ppt ผู้ส่งผลงานควร Embed font ให้แล้วเสร็จก่อนส่งผลงาน
    ดูวิธีการ Embed font ได้ที่นี่

รางวัล

A Team Good Practice
B Innovative Teaching
C Oral presentation
(ไม่จำกัดจำนวนรางวัล)
  1. โล่ประกาศเกียรติคุณ
  2. เกียรติบัตร
  3. เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท

(ไม่จำกัดจำนวนรางวัล)
  1. โล่ประกาศเกียรติคุณ
  2. เกียรติบัตร
  3. เงินรางวัล จำนวน 10,000 บาท
ดีเด่น (3 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 5,000 บาท

ชมเชย (9 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 3,000 บาท
C
Poster presentation
ดีเด่น (6 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 3,000 บาท

ชมเชย (18 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 1,500 บาท

Popular Vote (1 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท
S
Story telling
ให้นำเสนอ (4 รางวัล)
  1. เกียรติบัตร
  2. เงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท

ผลงานเกียรติยศ


GR.
NO.
ชื่อผลงาน - หน่วยงาน
ประเภท
         

----------------------------------------------------------------

ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกให้นำเสนอในวันมหกรรม


GR.
NO.
ชื่อผลงาน - หน่วยงาน
ประเภท
ผู้นำเสนอผลงาน
รางวัล
         

ผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม

  1. เราจะจัดส่ง QR Code เพื่อใช้ในการลงทะเบียนในวันมหกรรม (Check in) โดยจัดส่งไปยัง Email Address ที่ท่านได้ให้ข้อมูลไว้ก่อนวันมหกรรม 1 สัปดาห์
  2. หากรายชื่อด้านล่าง ไม่แสดงผล ท่านสามารถดูได้ที่นี่ (โปรดคลิก)





         
ลำดับ
เวลา
ชื่อ-สกุล
ส่วนงาน / สังกัด
 
         

ผังการจัดนิทรรศการ

หากมีข้อสงสัย หรือต้องการความช่วยเหลือ สามารถติดต่อเราได้ที่

สอบถาม ขอความช่วยเหลือ ผ่าน Line @ Official
http://nav.cx/emITFlD คลิกเลย
----------------------------------------------------------------

ปิยะณัฐ พรมสาร/ สุภัทร์ษาเที่ยงอารมย์
โทร 0 2849 6062, 0 2849 6062-5
email address: mahidolqd@mahidol.edu
ระหว่างเวลา 9.00 - 16.00 น. ในวันทำการ
หรือที่ Facebook Fanpage: facebook.com/MahidolQD/
----------------------------------------------------------------
สำนักงานโครงการมหกรรมคุณภาพมหาวิทยาลัยมหิดล
กองพัฒนาคุณภาพ ชั้น 3 อาคารสำนักงานอธิการบดี ศาลายา
มหาวิทยาลัยมหิดล 999 ถนนพุทธมณฑลสาย 4 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม 73170
โทร 0 2849 6062 - 4, 0 2849 6065 โทรสาร 0 2849 6061
Website: https://op.mahidol.ac.th/qd/
----------------------------------------------------------------
แผนที่การเดินทาง ในรูปแบบ Portable Document Format (PDF)