หน้าที่ความรับผิดชอบ

กองพัฒนาคุณภาพเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการพัฒนาระบบและกลไกในการพัฒนาคุณภาพวางแนวทางการดำเนินงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพของมหาวิทยาลัยตามพันธกิจด้านต่างๆเพื่อสร้างศักยภาพให้แก่มหาวิทยาลัยในการเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและมาตรฐานต่อระบบโครงสร้างและทรัพยากรบุคคล ด้วยกลไกและเครื่องมือที่เหมาะสมในรูปแบบต่างๆ ประสานงานและดำเนินการ เพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก ส่งเสริม ประสานงานและเผยแพร่ การดำเนินงานด้านการพัฒนาคุณภาพและการจัดการความรู้สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านการพัฒนาคุณภาพและการจัดการความรู้กับหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ประสานงานการจัดวางฐานข้อมูล เพื่อสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ และเป็นศูนย์กลางข้อมูลเพื่อการค้นคว้าและอ้างอิง

สรุปหน้าที่ความรับผิดชอบ

    • ดำเนินการในการกำหนดนโยบาย วางและพัฒนาระบบคุณภาพเพื่อเสนอต่อผู้บริหาร
    • วางแผนกลยุทธ์และดำเนินการในโครงการ/กิจกรรมต่างๆของระบบคุณภาพ เพื่อการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
    • ศึกษาวิเคราะห์ ติดตามประเมินผลข้อมูลและจัดทำรายงาน ข้อสรุปเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบคุณภาพ
    • ดำเนินการจัดฝึกอบรม สัมนา/เสวนา และเผยแพร่ข้อมูล/ข่าวสารในรูปแบบสื่อต่างๆสู่เป้าหมายการปรับปรุงคุณภาพ
    • ประสานงานและร่วมดำเนินการในการจัดทำฐานข้อมูลต่างๆที่สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ
    • ประสานงานประกันคุณภาพภายในและดำเนินการในการจัดทำรายงานการประกันคุณภาพในภาพรวมของมหาวิทยาลัยจัดส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    • ดำเนินกิจกรรมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
    • ดำเนินการในการจัดการความรู้เพื่อการนำมหาวิทยาลัยไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

การบริหารงานภายในกองพัฒนาคุณภาพ ประกอบด้วยภารกิจหลักที่สำคัญคือ

ด้านการบริหารทั่วไป
    • ดำเนินงานด้านบริหารงานทั่วไป ทั้งในเรื่องธุรการ สารบรรณ การเงิน พัสดุ งบประมาณ และการบริหารงานบุคคล
    • ติดต่อประสานงาน และอำนวยความสะดวกในการดำเนินกิจกรรมของส่วนต่างๆ
    • ประสานงานการดำเนินกิจกรรม เพื่อรองรับการพัฒนากอง
    • ร่วมดำเนินกิจกรรมของส่วนต่างๆ เพื่อสนับสนุนภารกิจหลักของกอง
ด้านระบบการประกันคุณภาพภายใน
    • การดำเนินในการกำหนดนโยบาย โครงสร้าง ระบบ กลไกของระบบคุณภาพ
    • วางกลยุทธ์เพื่อการดำเนินการตามระบบคุณภาพ
    • ปรับปรุง พัฒนาระบบคุณภาพ เพื่อการประกันคุณภาพภายใน
    • ศึกษา วิเคราะห์ ติดตามประเมินผลข้อมูล และจัดทำรายงาน ข้อสรุป เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบคุณภาพ
    • จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพให้แก่ส่วนงาน เพื่อให้เกิดระบบคุณภาพที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
    • ให้คำปรึกษา ข้อแนะนำด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพแก่หน่วยงาน
    • จัดทำคู่มือ/หลักสูตรฝึกอบรม/เอกสารต่างๆ เพื่อสนับสนุนระบบคุณภาพ
    • ดำเนินการจัดฝึกอบรม สัมมนา/เสวนา และเผยแพร่สื่อในรูปแบบต่างๆ สู่เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพ
ด้านระบบการประเมินคุณภาพภายนอก
    • ดำเนินกิจกรรมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
    • ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลตัวบ่งชี้/ตัวชี้วัดต่างๆเพื่อการเทียบเคียงสมรรถนะด้านการพัฒนาคุณภาพทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
    • จัดเก็บ/จัดทำฐานข้อมูลรองรับการรายงานผลและการประเมินคุณภาพภายนอก
    • จัดทำรายงานการประเมินคุณภาพในภาพรวมของมหาวิทยาลัย เพื่อส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
    • ศึกษา วิจัย ติดตามประเมินผลการดำเนินการหรือการพัฒนาตามผลการประเมินคุณภาพภายนอกอย่างต่อเนื่อง
    • ดำเนินกิจกรรมเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก
    • ประสานงานการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาคุณภาพสำนักงานอธิการบดีสนองตอบต่อการประเมินคุณภาพภายนอกและภายใน
ด้านสารสนเทศและประชาสัมพันธ์
    • ประสานงานในการนำข้อมูลมาจัดทำเป็นสารสนเทศด้านการพัฒนาคุณภาพ
    • จัดเก็บข้อมูล สถิติ เพื่อจัดทำรายงานสารสนเทศและเผยแพร่
    • ประสานงานและร่วมดำเนินการในการจัดทำฐานข้อมูลสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพ
    • ดำเนินการปรับปรุง/พัฒนาเว็บไซต์การพัฒนาคุณภาพทั้งระบบ Intranet และ Internet
    • จัดทำสื่อ/ข้อมูลข่าวสาร/เอกสารด้านการพัฒนาคุณภาพ เพื่อการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์
    • ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานการพัฒนาคุณภาพ
ด้านการจัดการความรู้
    • วางกลยุทธ์และสร้างเครือข่ายงาน/กิจกรรมการจัดการความรู้กับหน่วยงาน ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
    • ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อจัดหาและวางระบบสารสนเทศ ที่จะนำมาสนับสนุนการจัดการความรู้
    • ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาระบบการบริหารงานประจำสู่งานวิจัย
    • วางระบบการรวบรวมและจัดทำคลังความรู้ของมหาวิทยาลัยเพื่อเป็นแหล่งศึกษา ค้นคว้า